02-096-6333
info@healthmedic.co.th
Select Language ไทย | EN

งานวิจัยเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมของบุคลากรโรงพยาบาลในประเทศไทย

 

#วันนี้Adminเพจขออัพเดทงานวิจัยของ
ศ.ดร.อะเคื้อ อุณหเลขกะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

#ในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมของบุคลากรโรงพยาบาลในประเทศไทย

Prevention of Needlestick and Sharp Injuries among Hospitals in Thailand

       การป้องกันอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive study)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานของโรงพยาบาลในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเข็มและมีคม การวิจัยดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลสังกัดหน่วยงานต่างๆ และโรงพยาบาลเอกชนในทุกภาครวม 618 แห่ง รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามการดำเนินงานในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมในบุคลากรของโรงพยาบาล ไปยังพยาบาลควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาล ได้รับแบบสอบถามคืน 387 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 62.6
ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 992 ของโรงพยาบาลมีการดำเนินการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในบุคลากร โดยการให้ความรู้แก่บุคลากร ร้อย 97.2 มีการเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานและกำหนดแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ ร้อยละ 88.6 มีการจัดทำเเนวทางการจัดการมูลฝอยเเหลมคมร้อยละ 88.4 กำหนดนโยบายการป้องกันอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมเป็นลายลักษณ์อักษรร้อยละ 84.8 จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุเเก่บุคลากรและร้อยละ 76.5 ให้วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบแก่บุคลากรกลุ่มเสี่ยงระหว่างปี พ.ศ. 2550- 2553 เกิดอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมในบุคลากรรวม 15,545 ครั้งจากจำนวนโรงพยาบาลที่รายงาน 296-339 แห่งเฉลี่ยในแต่ละปีเกิดอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมระหว่าง 11.6-12.4 ครั้งต่อโรงพยาบาล  ปัญหาที่โรงพยาบาลพบในการป้องกันการเกิดอุบัติเหคุด้านการบริหาร ได้แก่ ขาดผู้รับผิดชอบ
     การดำเนินงานโดยตรง ระบบการเฝ้าระวังการให้อุบัติเหตุไม่มีประสิทธิภาพขาดการสนับสนุนภาชนะทิ้งเข็มและของมีคมที่มีคุณภาพ ขาดความร่วมมือจากหน่วยงาน ปัญหาด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความคับแคบของสถานที่และความสว่างในหน่วยงานไม่เพียงพอปัญหาด้านอุปกรณ์ได้เก่ขาดภาชนะทิ้งเข็มปัญหาด้านบุคลากร ได้แก่ บุคลากรขาดความตระหนัก และขาดความระมัดระวังในการป้องกันอุบัติ  เหตุบุคลากรไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ
    ผลการวิจัยชี้ให้เห็นความจำเป็นในการส่งเสริมและสนับสนุนโรงพยาบาลต่าง ๆ ให้มีการดำเนินการในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมในบุคลากรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความตระหนักแก่บุคลากรในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถลดปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบุคลากรและโรงพยาบาล

#อ่านผลวิจัยต่อ

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก
www.healthmedic.co.th หัวข้อ Blog นะครับ หรือสามารถ Download file ได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19060/16779

บริษัท เฮลธ์เมดิค จำกัด (สำนักงานใหญ่)
เลขที่ 1768 ไทยซัมมิท ทาวเวอร์ ห้อง 405
ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวง บางกะปิ
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
Call Center 02-096-6333
โทร 02-138-8106
แฟกซ์ 02-138-8107
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0 1055 56086 49 3

Copyright © 2016 Health Medic Company Limited . All rights reserved. เขียนเว็บไซต์ โดย WEBUNQIUE